จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ศีลธรรมอันดีของประชาชน

การอยู่ร่วมกันในสังคม จำเป็นต้องมีศีลธรรมเพื่อไม่เดือดร้อนคนอื่น

หลังจากเริ่มโครงการ Zero Waste ชาวรุ่งอรุณพยายามลดขยะโดยวิธีแยกขยะให้ถูกต้องเพื่อทำให้ขยะเหลือศูบย์ แต่ทำโครงการมาหลายปีมาแล้ว หลายคนไม่สนใจเรื่อง Zero Waste จึงทำให้แยกขยะไม่ชัดเจน

นี่คือถังขยะย่อยสลายง่ายนะครับ แต่ขยะย่อยสลายยากจะเยอะกว่า














นี่คือตัวอย่างถังย่อยสลายง่ายที่ดี แยกถูกต้อง แต่ทำต้อทิ้งอาหารเยอะอย่างนี้














ตอนนี้โรงเรียนพยายามแก้ปัญหาน้ำเสียอยู่ สาเหตุน้ำเสียส่วนใหญ่มาจากน้ำมันและไขมันที่ถูกทิ้งกับอาหาร

นี่คือบ่อดักไขมัน สีส้มที่ลอผิวน้ำเป็นน้ำมันพีช สีขาวเป็นไขมัน














นี้คิอบ่อบำบัดที่ต่อจากบ่อดักไขมัน น้ำมันที่ไม่ได้ถูกดักที่บ่อดักไขมันก็เยอะเหมีอนกัน ตอนนี้กำลังจะเริ่มรณรงลดน้ำมันและไขมันที่ทิ้ง

ทุกคนนึกถึงคนอื่นและมีศีลธรรมที่ดี น่าจะลดน้ำมันและไขมันได้














นี่คือถังวัดปริมาณน้ำมันและไขมันที่เจ้าหน้าที่ตักมาจากบ่อดักไขมันและบ่อบำบัด เพื่อที่จะเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำมันและไขมัน

หวังว่าลดปริมาณน้ำมันและไขมัน

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

ทิ้งขยะในโรงเรียน

ตั้งแต่เทอมที่แล้ว ฝ่ายสิ่งแวดล้อมพยายามเก็บขยะทุกวันพุธ เพื่อทำให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาการทิ้งขยะและปลูกฝังความรู้สึกเกรงใจกับการทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ปรากฎว่าไม่ได้ผลสำเร็จ ปริมาณขยะที่ถูกทิ้งไม่ลดลง ฝ่ายสิ่งแวดล้อมจึงต้องคิดวิธีต่อไป






























มีบางคนชื่นชมและให้กำลังใจเราว่ามีบุญ ทำดีมาก ฯลฯ แต่น้อยคนช่วยเราหรือพยายามทิ้งให้ถูกต้อง คนส่วนใหญ่ไม่สนใจหรืออาจจะสบายใจในการทิ้งเพราะมีคนเก็บขยะแล้ว ทิ้งเยอะกว่าเดิม

เหมือนตอนที่กองเชียร์ญี่ปุ่นเก็บขยะหลังเกมส์ฟุตบอล ทุกคนก็ชื่นชม แต่ไม่มีใครทำตาม

เมื่อก่อนผมได้คุยกับครูสิงคโปร์ ผมบอกว่า"ประเทศสิงคโปร์สะอาดที่สุดในโลก ชาวสิงคโปร์เก่งมาก" แต่ครูคนนั้นบอกว่า"สิงคโปร์สะอาดก็จริงแต่มีกฎหมายบังคับ ญี่ปุ่นไม่มีกฎหมายบังคับก็ยังสะอาดมากพอสมควร คนญี่ปุ่นเก่งกว่า"

ผมอยากให้ชาวรุ่งอรุณสำผัสและกระหนักถึงสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองแต่ไม่สำเร็จ ต้องมีกฎระเบียบ ผมไม่ชอบให้มีกฎแต่อาจจะช่วยได้บ้าง
















































วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ปุ๋ยหมัก-ท่อแนวตั้ง

เพื่อที่จะทำปุ๋ยหมักที่ดี มีคุณภาพ เราควรรักษากองปุ๋ยเป็น aerobic หรือมีอากาศ ถ้าเกิดข้างในกองขาดอากาศแล้ว ปุ๋ยหมักก็จะเน่า แต่ว่าจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยบริโภคออกซิเจนมาก ข้างในกองจึงมักจะเป็น anaerobic หรือไม่มีอากาศ ทำอย่างไรดี

โดยทั่วไปใช้ blower ไฟฟ้าเติมอากาศ แต่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมไม่อยากจะใช้พลังงานไฟฟ้า

เราจึงใช้ท่อเจาะรูแทน ท่อออกแบบใหม่ของเราพิเศษ ท่อแบวตั้งกับแนวนอนต่อกัน เพื่อตามกระแสอากาศของกองปุ๋ยหมัก





















กองปุ๋ยหมักเป็นอย่างนี้ รูปร่างเหมือนพาราโบรา





















ข้างในกองปุ๋ยหมัก actinomycetes ก็ขึ้นทั่วเลย