จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ระบบบำบัดน้ำเสียของม.ปลาย

ระบบบำบัดน้ำเสียของม.ปลายห้องคละเสร็จเรียบร้อย

เตรียมไส้กรอง (ทุบอิฐแดงและถ่าน)แล้วบรรจุในราง






























บรรจุถ่านกับอิฐแดง



















ต่อท่อเสร็จแล้ว สามารถใช้ได้เลย
สัปดาห์หน้าจะเริ่มบำบัดน้ำเสียและ

1. วิเคราะห์คุณภาพน้ำ
2. ช่วยกันคิดว่าเอานำ้ไปใช้อะไรต่อ

ปุ๋ยหมักมีประโยชน์

ปุ๋ยหมักที่ทำมาจากเศษอาหาร


















graph อุณหภูมิของปุ๋ยหมักพี่ม.ปลาย














มีประโยชน์ในการปลูกผักและดอกไม้































วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

อุณหภูมิกองปุ๋ยหมักสูงมาก

ทำไมกองปุ๋ยหมักของเรา อุณหภูมิต้องสูงขึ้นถึง 60-80 ℃

เพราะพวก bacteria และเชื้อราจะย่อยสิ่งที่ย่อยงาย เช่นน้ำตาล
แล้วจุลินทรีย์พวกนี้ก็จะหายใจและสร้างพลังงาน

จากนั้นจุลินทรีย์ที่ชอบอุณหภูมิสูงจะย่อย carbohydrate เช่น actinomycetes
จะย่อย hemicellulose หรือ anaerobic bacteria จะย่อย cellulose เป็นต้น
(actinomycetes สร้างปฏิชีวนะด้วยจึงจะเชื้อโรคได้)

นี่คือ model กระบวนการการย่อยสลายเศษอาหาร














พวกสีขาวๆที่อยู่ในกองปุ๋ยหมักเป็น actinomycetes (ร้อนมากๆ)

















ทำไมอุณหภูมิต้องสูงขึ้นถึง 60-80 ℃
1. ฆ่าเชื้อโรค
2. ฆ่าเมล็ดวัชพืช
3. ให้ actinomycetes หรือ anaerobic bacteria จะย่อยใบไม้และกิ่งไม้

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

สูตร 1
1. เศษอาหาร 2 ส่วน
2. ปุ๋ยเก่า 1 ส่วน
3. ใบไม้ 0.2 ส่วน

สูตร 2
1. เศษอาหาร 3 ส่วน
2. ปุ๋ยเก่า 1 ส่วน
3. ใบไม้ 1 ส่วน

ขั้นตอนวิธีการทำ
1. นำเศษอาหารใส่ในภาชนะที่ระบายน้ำได้ เพื่อลดปริมาณน้ำที่มาจากเศษอาหาร














2. นำเศษอาหารที่ซับน้ำแล้วมาผสมกับปุ๋ยเก่าและใบไม้ตามอัตราส่วนดังกล่าว




























ให้เป็นภูเขา




























มีขนาดอย่างน้อย ⇓ (ปิดด้วยใบไม้) ถ้ามีน้ำหมักชีวภาพก็ราดด้วย














ระหว่างการหมัก ควรทำการวัดอุณหภูมิ


















อุณหภูมิควรมากกว่า 60°C เพื่อฆ่าเชื้อโรคจากเศษอาหาร และความชื้นควรไม่เกิน 60%

วิธีวัดความชื้น
2-1. ใช้มือกำกองปุ๋ยแล้วบีบ หากมีน้ำไหลออกมา แสดงว่าความชื้นมากเกินไป ควรงดการให้น้ำ
2-2. ถ้าบีบแล้วปุ๋ยไม่จับตัวกันเป็นก้อน เชย่าแล้วแตก แสดงว่าความชื้นน้อยให้รดน้ำเพิ่ม
2-3. ความชื้น 60% คือบีบแล้วจับตัวเป็นก้อน ไม่มีน้ำไหลออกมา เขย่าไม่แตก

3. กลับกองสัปดาห์ละ 1ครั้ง จำนวน 4 สัปดาห์




























4. เก็บกองปุ๋ยเข้าในโรงเรือนที่มีหลังคา ทิ้งไว้อีก 2 เดือนก็สามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้































วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ปลูกธรรมรักษา/ตัดหญ้าที่อาศรมศิลป์

ตอนนี้ธรรมรักษาตรงบึงอาศรมศิลป์กำลังบานอยู่
สวยมากๆ









ธรรมรักษาพวกนี้ นักเรียน ป.6 ช่วยกันปลูกในวันเด็กที่ผ่านมาธรรมรักษานี้
นอกจากสวยงามแล้ว ยังบำบัดน้ำได้ด้วย




























ตัดหญ้าที่อาศรมศิลป์

เมื่อวันพุธที่ 4 ก.พ. 2552 ฝ่ายสิ่งแวดล้อมช่วยกันตัดหญ้่าตรงสถาบันอาศรมศิลป์
หญ้าพวกนี้ได้ปลูกเมื่อปิดเทอมที่ผ่านมา














หญ้าที่ได้ตัดนั้น เอาไปทำเป็นปุ๋ยหมักนะครับ



























สวยขึ้นไหมครับ