จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

งานสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันอังคารที่ 30 มีคาคม 2553 ที่ผ่านมา(เมื่อวาน)ฝ่ายสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมงาน
"การจัดการขยะ.. สู่พลังงานการผลิตพลังงานทดแทนจากขยะเศษอาหาร พลาสติกและเศษวัสดุ" ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นักเรียนมัธยมต้นและปลายหมายคนได้เรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม

สำหรับฝ่ายเราสาธิตเรื่องน้ำหมักชีวภาพ เตรียมฐานทั้งหมด 4 ฐานได้แก่
1. Concept โครงการสิ่งแวดล้อม
2. วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ
3. ประโยชน์และวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ
4. จุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพ

ผม(อีมูระ)สาธิตฐานที่ 2 ครับ

ฐานที่ 1 Concept โครงการสิ่งแวดล้อม














ฐานที่ 2 วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ











ฐานที่ 3 ประโยชน์และวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ

ไม่มีภาพครับ!


ฐานที่ 4 จุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพ














นักเรียนตั้งใจฟังมาก














สุดท้ายมีงานสรุป คำถามจากโรงเรียนรุ่งอรุณคื่อ น้ำหมักชีวภาพไม่ได้เป็นพลังงานทดแทนโดยตรง แต่ก็ยังช่วยประหยัดพลังงานได้ ช่วยได้อย่างไร?















ทุกคนคิดว่าอย่างไร

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

บ่อบำบัดน้ำ2

วันนี้เป็นวันน้ำโลก (วันที่ 22 มี.ค. 2553)
http://www.worldwaterday.org/

ช่วยกับนึกถึงคุณค่าน้ำและประหยัดน้ำนะครับ

ต่อจากวันเสาร์ วันอาทิตย์(เมื่อวาน)ก็ซ่อมแซมบ่อบำบัดน้ำ
เมื่อวานทำตรงที่ปล่อยน้ำสู่บึงใหญ่














น้ำพุ

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

งานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

วันที่ 30 มิ.ค. 2553 ที่จะถึงนี้ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมจะสาธิตเรื่องสิ่งแวดล้อมกับน้ำหมักชีวภาพที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นี่คือกำหนดการ




















เนื้อหาที่จะสาธิตก็ตือน้ำหมักชีวภาพ นี่คือ poster นะครับ

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

บ่อบำบัดน้ำ

ช่วงนี้ฝ่ายสิ่งแวดล้อมกำลังซ่อมแซมบ่อบำบัดน้ำอยู่

เพราะว่า
-บ่อบำบัดเราพังมานานแล้ว
-เราจะดึงน้ำจากคลองมาเข้าในบึงใหญ่

นี่คือขั้นตอนที่เราทำไปแล้ว(ใกล้จะเสร็จนะครับ)


1. สูบน้ำออกเพื่อทำงานได้














2. เอาขี้เลนมาตัก / ซ่อมเขื่อนกั้นน้ำ



























3. ซ่อมระบบกำบัดน้ำ








































4. เขื่อนกั้นน้ำ














5. ปลูกใบเตย



























วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

วิธีแก้ปัณหาไขมัน 2

วันนี้เล่าวิธีแก้ปัญหาน้ำมัน&ไขมันจากบ่อดักไขมันต่อนะครับ

ถ้าเกิดแยกน้ำมันกับน้ำได้ เราก็ใช้วิธีนี้ได้
ก็คือทำสบู่จากน้ำมัน




















ส่วนผสม
น้ำมันที่ใช้แล้ว 250ML
NaOH 35Gram (ต้องคำนวน)
น้ำเปล่า 100ML
น้ำหอม (เพื่อดับกลิ่น)


ขั้นตอนการทำ
1. เท NaOH ในน้ำและให้ละลาย(ร้อนมาก) รอให้เย็นลง















2. เท 1 ในน้ำมันที่ใช้แล้ว
เขย่ามากๆๆๆ














ต้องเขย่าอีกเยอะๆ




















3. เทในภาชนะ รอให้แข็ง(1-2วัน)และเอาออกจากภาชนะ
ต้องรออีกประมาณ 1 เดือน เพราะปฏิกิริยายังไม่เสร็จ (pH ยังสูงมาก)
(ถ้าไม่ชอบกลิ่น ใส่น้ำหอมก่อนผสม)














สูตรปฏิกิริยาทางเคมี











วิธีการคำนวน NaOH
ต้องใช้ Saponification Value
ถ้าสมมุติว่าใช้ palm oil 250ML ก็จะผสม NaOH 35.5Gram

0.142*0.25L=0.0355(KG)=35.5(Gram)

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทำปุ๋ยที่บ้าน

วันนี้พักเรื่องไขมัน แต่เล่าเรื่องปุ๋ยหมักแทนนะครับ

ผู้ปกครองรุ่งอรุณหลายท่านถามว่ากำจัดเศษอาหารจากบ้านครัวอย่างไรดี ถ้าเป็นพลาสติก กระดาษ อะลูมิเนียม ฯลฯ เอามาแยกที่โรงเรียนได้ แต่เศษอาหาร เอามาที่โรงเรียนลำบาก เพราะเน่าง่าย

วิธีการหมักปุ๋ยเศษอาหารที่โรงเรียนก็ต้องหมักเป็นกองใหญ่ ซึ่งทำที่บ้านลำบาก เพราะเศษอาหารจากครัวไม่เยอะ จึงหมักเหมือนโรงเรียนไม่ได้

ผมก็เลยแนะนำวิธีหมักปุ๋ยเศษอาหารในกล่องกระดาษ ซึ่งทำง่ายและสะดวก ที่ญี่ปุ่นนิยมทำกัน
ใช้กล่องขนาดประมาณ 30*40*50CM
















ใส่กากปุ๋ยกับใบไม้แห้งครึ่งกล่องแล้ว นำเศษอาหารที่ซับน้ำพอสมควรแล้ว

(ที่ญี่ปุ่นใช้ที่ซับเศษอาหารหลายแบบ)





































(แบบใหม่สวยมาก ผมไม่เคยเห็น)



















นำเศษอาหารที่ซับนำ้พอสมควรไปผสมกับกากปุ๋ย+ใบไม้แห้ง (ที่ญี่ปุ่นใช้ขึ้เลนสาหร่ายกับแกลบดำ) ปิดด้วยกากปุ๋ย+ใบไม้แห้ง และใช้เสื้อคลุมกล่องเพื่อป้องกันแมลงวัน















ใส่เศษอาหารได้วันละ 0.5-1KG ถ้าเกิดมีเศษอาหารมากกว่านี้ก็จะเตรียมกล่องที่ใหญ่กว่านี้หรือใช้ 2 ใบ
วันรุ่งขึ้นก็จะเทเศษอาหารและคลุกกับดิน ปิดด้วยกากปุ๋ย+ใบไม้แห้งและใช้เสื้อคลุมกล่องเพื่อป้องกันแมลงวัน
















เทเศษอาหารได้ 2-3 เดือน จากนั้นหยุดใส่เศษอาหารและทิ้งไว้ 1-2 เดือน(ใช้พลั่วเล็กกลับปุ๋ยบ้าง) เตรียมกล่อง 2 ใบก็จะสลับกันใช้ในช่วงนี้

แต่มีข้อเสียก็คือกล่องไม่แข็งแรงใช้ได้ครั้งเดียว ผมก็เลยคิดอยู่ว่าใช้ผ้าใบทำกล่องน่าจะทนกว่า

ผมคิดอยู่ว่าจะจัดงานสาธิตหรือกิจกรรมทำปุ๋ยกล่องนะครับ

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

วิธีแก้ป้ญหาไขมัน 1(2)

ต่อจากเมื่อวานนะครับ นำกากไขมันมาผสมในกองปุ๋ยเศษอาหารแล้ว เกิดปัญหากลิ่นไขมัน แต่เราสามารถแก้ปัญหากลิ่นไขมันได้โดยวิธีผสมผงถ่านในกองปุ๋ย

แต่เกิดปัญหาใหม่ก็ตือผงถ่านเราหมด เพราะเราเผาถ่านไม่ได้เพราะควันที่ออกมาเดือดร้อนชมชนที่อยู่บริเวณรุ่งอรุณ ทำอย่างไรดี



































คุณจักรชัยซึ่งเป็นหัวหน้าทีมทรัพยากรกำลังจะออกแบบถังดักควันอยู่ idea มาจาก T.V.นะครับ

http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=47880

ถ้าหมดปัญหาควันได้แล้ว นอกจากจะแก้ปัญหากลิ่นไขมันได้แล้วเรายังเก็บถ่านกับน้ำส้มควันไม้ได้อีกด้วย

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

วิธีแก้ป้ญหาไขมัน 1

ผมเริ่มเล่าวิธีแก้ปัญหาไขมันจากบ่อดักไขมัน (จากน้ำล้างจาน)ดีกว่า

วิธีที่ 1 : ผสมไขมันในกองปุ๋ยหมักเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยเลย















วิธีนี้ดีมาก เพราะควบคุมไม่ค่อยยาก ใช้เวลาไม่นาน นำสารอินทรีย์ในไขมันไปใช้ต่อการเกษตรได้ แต่มีปัญหาคือมีกลิ่นแรง แต่ตอนนี้ปัญหาเรื่องกลิ่นไขมัน แก้ได้แล้วโดยวิธีผสมผงถ่านในกองปุ๋ยหมัก

แต่วิธีนี้ก็ยังมีปัญหาใหม่อีก ผมจะเล่าต่อวันพรุ่งนี้นะครับ

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

น้ำมัน & ไขมัน

ขยะไขมันกับน้ำมันเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่สำหรับโรงเรียนเรา

โดยเฉพาะไขมันและน้ำมันที่ถูกทิ้งเมื่อล้างจาน ซึ่งแต่ละอาคารก็มีบ่อดักไขมันอยู่แล้ว แต่ทำไมเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่?
































เพราะยังไม่มีวิธีกำจัดกากน้ำมันที่ดี เจ้าหน้าที่ตักไขมันก็ลำบาก เหม็น สกปรก มีเชื้อโรค















แต่สมาชิกรุ่งอรุณบางคน บางกลุ่นก็พยายามหาวิธีแก้ปัญหาอยู่ ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ลุงฮิโรชิ อีมูระก็จะเล่าให้ทุกท่านฟังนะครับ

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

กำจัดแมลงวันโรงปุ๋ยหมัก

หลังจากสร้างโรงปุ๋ยใหม่ พวกเรามีปัญหาแมลงวัน จึงพยายามหาวิธีไร่แมลงวันมาตลอด

ทำไม เมื่อก่อนไม่มีแมลงวันแต่โรงปุ๋ยใหม่มีแมลงวันเยอะ เพราะเมื่อก่อนหมักปุ๋ยที่ดิน นำ้เสียมาจากเศษอาหารซึมลงไปในดิน จุลินทรีย์ในดินก็จะย่อยอินทรีย์ในนำ้เสีย แมลงวันจึงไม่มา

แต่ที่ โรงปุ๋ยใหม่ปูซีเมนต์ นำ้เสียค้างอยู่ที่ซีเมนต์ ส่งกลิ่นเหม็น แมลงวันก็จะมา นอกจากนี้เราใส่เศษอาหารในตะกล้าเพื่อซับนำ้โดยไม่ปิดฝา




















ตั้งแต่ เดือนที่แล้ว เปลี่ยนวิธีการซับนำ้ ก็คือใส่ตะกล้ากลมในถังที่มีฝาปิด เอาเศษอาหารมาเทในตะกล้า+ถ้งและปิดฝ่ทันที เศษอาหารหกก็กวาดทันที ราดนำ้บ่อยขึ้น ใช้ใบไม้ปิดกองปุ๋ย
หลังจากใช้วิธีนี้แล้ว แมลงวันแทบจะไม่มานะครับ







































เปลี่ยนวิธีการขยายนำ้หมักชีวภาพ

เมื่อก่อนพวกเรามีปัญหาว่าหลังจากขยายนำ้หมักชีวภาพแล้ว ผ่านไปไม่กี่สัปดาห์ กลิ่นก็เปลี่ยน อาจจะเป็นเพราะจุลินทรีย์ในนำ้หมักชีวภาพของเราไม่ค่อยแข็งแรง

แต่ได้ไปดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมดูล "ไร่ทักสม"(จ.นครนายก)มาแล้ว เรารู้ว่าขั้นตอนการขยายนำ้หมักของเราไม่ดี

เมื่อ ก่อนนำหัวเชื้อ กากนำ้ตาลและนำ้ประปามาใส่ในถังและผสมกัน ด้วยวิธีใช้ไม้คนประมาณ 5 นาที แต่ถ้าเกิดคนแรงขนาดนี้ จุลินทรย์ในหัวเชื้อก็จะตาย

เพราะฉะนั้นเปลี่ยนวิธีการขยายนำ้หมักนะครับ


1. ใส่นำ้ประปาในถังและทิ้งไว้ 3 วันเพื่อลดคลอรีนในนำ้















2. 3 วันผ่านไปแล้ว เทกากนำ้ตาลและคนให้เข้ากัน




























3. เทหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพเบาๆ ห้ามคน















4. หมักทิ้งไว้ 7 วัน วิธีการสังเกตว่านำไปใช้ได้คือมีคราบสีขาวขึ้นเต็มผิวนำ้















สิ้นเดือนนี้พวกเราจะสาธิตทำนำ้หมักชิวภาพที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้านะครับ

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

คุณค่าอาหาร

ขอโทษที่ไม่ได้ up date หลายเดือน เพราะว่าผมลาออกจากรุ่งอรุณแล้วเมื่อกันยายน แต่เดือนที่แล้วกลับมาทำงานที่รุ่งอรุณอีกครั้ง

วันนี้ผมเล่าเรื่องเศษอาหารและขยะย่อยสลายง่ายนะครับ

โรงเรียน เรามีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 1,300 ชีวิต (นักเรียน ครู พนักงาน) ได้ประกอกอาหารวันละไม่น้อย เพราะฉะนั้นสร้างเศษผัก เศษผมไม้ ก้างปลา กระดุกหมู กระดุกไก่ค่อนข้างเยอะพอสมควร นอกจากนี้เศษอาหาร ซึ่งทานไม่หมดก็ไมาน้อย





















ฝ่ายสิ่งแวดล้อมจึงทำปุ๋ยหมักอยู่ทุกวัน แต่เท่าที่สังเกตเศษอาหารแล้ว ยังมีของกินที่ไม่น่าจะทิ้งก็เยอะ ผมจึงคิดว่านอกจากจะหาวิธีที่ทำปุ๋ยที่มีคุณภาพแล้ว ยังอยากหาวิธีที่ทำให้สมาชิกรุ่งอรุณเข้าใจคุณค่าอาหารและทิ้งน้อยลง